เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ นีวรณโคจฉกะ
[1161] ถีนมิทธนิวรณ์ เป็นไฉน
ถีนมิทธนิวรณ์นั้นแยกเป็นถีนะอย่างหนึ่ง เป็นมิทธะอย่างหนึ่ง
[1162] บรรดา 2 อย่างนั้น ถีนะ เป็นไฉน
ความหดหู่ ความไม่ควรแก่การงาน ความท้อแท้ ความถ้อถอยแห่งใจ ความ
ย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน ภาวะที่ย่อหย่อน ความถดถอย กิริยาที่ถดถอย ภาวะ
ที่ถดถอยแห่งใจ นี้เรียกว่าถีนะ
[1163] มิทธะ เป็นไฉน
ความไม่สะดวกกาย ความไม่ควรแก่การงาน ความหงอยเหงา ความซบเซา
แห่งกาย ความหาวนอน ความง่วงซึม ความหลับ ความโงกง่วง ความอยากหลับ
กิริยาที่อยากหลับ ภาวะที่อยากหลับ นี้เรียกว่ามิทธะ ถีนะและมิทธะดังว่านี้รวม
เรียกว่าถีนมิทธนิวรณ์
[1164] อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ เป็นไฉน
อุทธัจจกุกกุจจะนั้นแยกเป็นอุทธัจจะอย่างหนึ่ง เป็นกุกกุจจะอย่างหนึ่ง
[1165] บรรดา 2 อย่างนั้น อุทธัจจะ เป็นไฉน
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่ายแห่งจิต ภาวะที่จิต
พล่านไป นี้เรียกว่าอุทธัจจะ1
[1166] กุกกุจจะ เป็นไฉน
ความสำคัญว่าควรในสิ่งที่ไม่ควร ไม่ควรในสิ่งที่ควร มีโทษในสิ่งที่ไม่มีโทษ ไม่
มีโทษในสิ่งที่มีโทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ภาวะที่รำคาญ ความเดือดร้อนใจ
ความยุ่งใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่ากุกกุจจะ1 อุทธัจจะและกุกกุจจะดังว่านี้รวม
เรียกว่าอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
[1167] วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็นไฉน
ปุถุชนย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา
ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปบาทว่า

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ. 35/552/307,928/451

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :297 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ นีวรณโคจฉกะ
เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะ
ที่เคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่าง ๆ ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสอง
ทาง ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะยึดถือโดยส่วน
เดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงยึดถือเป็นยุติ
ได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าวิจิกิจฉานิวรณ์
[1168] อวิชชานิวรณ์ เป็นไฉน
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้
ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย
ธรรมนี้จึงมี ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความ
ไม่รู้ตามความเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ยึดถือโดยถูกต้อง ความไม่
สามารถหยั่งลงถือเป็นข้อยุติได้ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้
ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง
ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐาน
คืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าอวิชชานิวรณ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นนิวรณ์
[1169] สภาวธรรมที่ไม่เป็นนิวรณ์ เป็นไฉน
เว้นนิวรณ์เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤตที่เหลือ
ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนา-
ขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้
ชื่อว่าไม่เป็นนิวรณ์
2. นีวรณิยทุกะ
[1170] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นไฉน
สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น
กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของนิวรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :298 }